/ # Education / 8 min read

หลายเหตุผลที่ทำไมเราควรจะศึกษาภาษาอังกฤษ

ในระหว่างทางที่ผมกำลังนั่งรถไฟฟ้ากลับบ้าน ผมนึกอะไรเรื่อยเปื่อยแล้วก็นึกเรื่องนี้ขึ้นได้

ผมเชื่อว่าหลายๆท่านที่อ่านถูกพร่ำสอนกันมาโดยตลอดว่าให้เรียนภาษาอังกฤษอย่างตั้งใจ เพื่ออนาคตภายภาคหน้า แน่นอนว่าคำกล่าวนี้ถูกต้อง เนื่องด้วยประชากรในประเทศเราที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร (ฟัง, พูด, อ่านและเขียน) อย่างคล่องแคล่วนั้นอาจมีไม่มากนัก ในขณะที่ภาษาอังกฤษก็คงถือได้ว่าเป็นหนึ่งในภาษาหลักของโลก แต่ผมคิดว่านั้นยังอาจจะไม่ใช่เหตุผลเดียวที่ทำให้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สำคัญแก่การเรียนรู้ ภาษาอังกฤษยังเป็นตัวช่วยในการทำสิ่งต่างๆมากมายกว่าที่หลาย ๆ คนคิด โดยเฉพาะสื่อในอินเตอร์เน็ตที่เรามักจะเข้าถึงกันมักจะเป็นทำออกมาในรูปแบบภาษาอังกฤษ

ในบทความนี้จึงมุ่งเน้นที่จะเสนอเหตุผลต่าง ๆ ซึ่งผมเห็นว่าเป็นเหตุอันควรให้ทุกท่านที่กำลังอ่านอยู่ ควรจะศึกษาภาษาอังกฤษ ทั้งท่านที่เป็นนักเรียนนักศึกษาหรือจะเป็นผู้ที่แวะผ่านเข้ามา ในฐานะที่เป็น "เครื่องมือ" ในการศึกษาเรื่องอื่น ๆ ต่อไป

ไม่มีภาษาอังกฤษอีกแล้วในอียู ดังนั้นไม่ต้องเรียนภาษาอังกฤษก็ได้!

หลายๆคนพูดและแชร์กันข่าวในเฟซบุ๊ค ที่ว่าด้วยการปลดภาษาอังกฤษออกจากภาษาราชการและพยายามผลักดันให้ใช้ภาษาฝรั่งเศษและภาษาเยอรมนีแทน จนบางคนพูดอย่างประชดประชันว่าไม่ต้องเรียนภาษาอังกฤษแล้ว เรียนภาษาอื่นดีกว่า ซึ่งเข้าใจว่าบางคนพูดอย่างไม่จริงจัง แต่ผมก็พบเห็นบางคนที่จริงจังกับเรื่องนี้จริง ๆ เสียด้วย

ก่อนอื่นต้องบอกว่าเป็นความจริงที่ภาษาอังกฤษจะถูกถอดออกจาก 24 official languages ของอียูเป็นเรื่องจริง เพราะหลังจากการ Brexit ในระยะเวลาอันใกล้ข้างหน้า ทำให้ภาษาอังกฤษไม่ผ่านหลักเกณฑ์ในการที่จะเป็น official language ของอียูอย่างไรก็ดี ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้อย่างแพร่หลายในอียูแม้จะไม่ใช่คนอังกฤษเอง อีกทั้ง 27 ประเทศสมาชิกยังสามารถเสนอให้ภาษาอังกฤษยังเป็นภาษาราชการต่อไปได้

อ้างอิง : อียูเตรียมถอดภาษาอังกฤษออกจากภาษาราชการ หันมาใช้ฝรั่งเศส-เยอรมัน - ประชาชาติ

EU อาจปลดภาษาอังกฤษออกจากภาษาราชการ - Voice TV

อย่างไรก็ดีจักรวรรดินิยมทางภาษา (Linguistic Imperialism) ของภาษาอังกฤษก็ยังดำรงอยู่ (ซึ่งในที่นี้จะไม่พูดถึง) รวมทั้งผู้ที่พูดภาษาอังกฤษเป็น native รวมทั้งที่พูดเป็นภาษาที่สองหรือสาม นั้นก็ยังมีมากเป็นอันดับต้นๆ (ในที่นี้ไม่อยากสรุปเพราะไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนพอ) อาจจะรองๆภาษาจีนและภาษาฮินดี (Hindi) บ้าง รวมทั้งการเข้ามาของอินเตอร์เน็ตซึ่งทำให้ภาษาอังกฤษมีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งจะกล่าวต่อไป

ภาษาอังกฤษในการเป็นสื่อกลางในการศึกษาภาษาอื่น

การที่เราจะศึกษาภาษาอื่น ๆ เราก็คงต้องหาตำรามาอ่านหรือไม่ก็ต้องไปเรียนใช่ไหมครับ? แน่นอนว่าเราต้องไปเรียนกับคนที่เชี่ยวชาญภาษานั้น ๆ เพื่อเป็น guidance แต่ว่าครูผู้สอนไม่ได้อยู่กับเราตลอดเพื่อที่จะตอบคำถามเรา เราจึงต้องค้นหาคำตอบเอง เป็นที่น่าเสียดายถ้าเรียนภาษาที่ไม่เป็นที่นิยมมากตามค่านิยม คุณอาจจะหาคำตอบในภาษาไทยไม่ได้

อีกเรื่องนึงถ้าคุณอยากจะเริ่มต้นที่จะเรียนภาษาใดภาษานึง ทุกวันนี้ในอินเตอร์เน็ต ก็จะมีเครื่องที่ช่วยในการเรียน แต่ requirement ของมันมักจะเป็นการที่คุณต้องมีความรู้ในภาษาอังกฤษเสียก่อน

ผมเป็นอีกคนนึงที่พยายามเรียนภาษาอื่นด้วยตนเอง (ภาษาเวียดนาม) ตอนนี้ผมเลือกใช้เครื่องมือหนึ่งเพื่อที่จะเรียน คือ Duolingo

Duolingo
Figure 1: The homepage of Duolingo

เว็บไซต์ Duolingo เป็นเว็บไซต์ที่ช่วยสอนภาษาให้เราฟรี โดยภายในเราจะได้ทั้ง อ่าน ฟัง เขียน (และพูด ถ้าคุณพูดตาม) ซึ่งเป็นประโยชน์มาก สามารถใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการเรียนภาษาอย่างจริงจังได้ แต่น่าเสียดายที่ไม่มีภาษาไทย เราจึงต้องรู้ภาษาอังกฤษเสียก่อนถึงจะเรียนได้

ใช้ภาษาอังกฤษในการศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ

การที่ความรู้ที่ค้นพบจากต่างประเทศจะถูกนำเข้ามาและแปลเป็นไทยใช้เวลานานมากพอสมควร ความรู้ใหม่จึงอาจจะยังไม่เข้ามาให้เราเรียนเพราะต้องผ่านกระบวนการหลาย ๆ อย่าง อาจจะด้วยทั้งปัจจัยอื่น ๆ เช่นการเมือง ที่ทำให้หนังสือหรือความรู้นั้นไม่ได้รับการถ่ายทอดเป็นภาษาไทย (โดยเฉพาะสายสังคมศาสตร์นี่แหละ) ทำให้การอ่านจากแหล่งที่มาซึ่งเป็นภาษาอังกฤษเป็นสิ่งที่ผมอยากจะแนะนำ

จริงๆเรื่องนี้อ่านเฟซบุ๊คเจ๊อ๋อยแล้วแกเคยแนะนำเมื่อหลายเดือนที่แล้ว เห็นว่าน่าสนใจดี เป็นแรงบันดาลใจเลยมาแนะนำหน่ะ ถ้าใครอยากอ่านรายละเอียดก็เชิญไปแหล่งที่มาได้

Textbook

Textbook ภาษาอังกฤษนั้นอ่านไม่ยากอย่างที่คิด ด้วยตัวรูปประโยคในหนังสือใช้ tense และภาษาอย่างง่ายและตรงไปตรงมา แม้ว่าคำศัพท์ในช่วงแรก ๆ อาจจะต้องใช้ dictionary บ้าง (แนะนำให้ใช้ Eng-Eng เพื่อฝึกใช้ภาษา) ถ้าหากสังเกต Textbook สายวิทยาศาสตร์ในมัธยมปลายอย่าง สสวท. เองก็จะแปลมาจาก Textbook ของต่างประเทศ หากท่านลองพลิกไปดูบรรณานุกรมก็จะเห็นอยู่ ดังนั้นการอ่าน Textbook จึงเป็นการอ่านจากต้นฉบับของหนังสือเรียนที่เราเรียน ๆ กันอยู่เลยทีเดียว อีกทั้งการแปลมาเป็นภาษาไทยอาจจะแปลมานานแล้วจนตัวต้นฉบับนั้นปรับปรุงเรียบร้อยแล้ว

Textbook มีข้อดีอยู่หลายอย่างคือมีภาพประกอบ สีสันสวยงาม อ่านไม่ยาก มี In-text citation/footnote เผื่อเราสนใจในหัวข้อนั้นๆเป็นพิเศษจะได้อ่านที่ต้นฉบับต่อไป มี contents, index มีแบบฝึกหัดซึ่งพยายาม integrated กับชีวิตประจำวัน ฯลฯ ซึ่งเอื้ออำนวยกับนักเรียนมัธยมปลาย นักศึกษา อ่านได้หมด

ส่วนวิธีอ่านมีให้อ่าน Textbook มีทั้งใน dek-d (เคยเห็นอยู่) เว็บอื่นๆ จากแหล่งที่มาของผมเองก็ได้

Articles, Communications, Letters, Reviews, etc.

Article Deep State
Figure 2: The example of article.

ต้นฉบับของ Textbook นั้นมาจาก Articles, Communications และ Letters จากผู้วิจัยเอง เมื่อเราศึกษาสูงขึ้นไปในมหาวิทยาลัยปริญญาตรีปีท้าย ๆ สำหรับบางคณะ หรือปริญญาโทเป็นต้นไปก็จะเริ่มอ่านจากแหล่งข้อมูลชั้นต้นเลย โดยมากจะเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ส่วนตัวคิดว่าเพราะภาษาอังกฤษมันเป็นภาษาวิชาการ ซึ่งถ้าคุณอ่าน Textbook มาได้ซักพักแล้วสนใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่งลึก ๆ ต่อคงก็ต้องเริ่มอ่านจากแหล่งข้อมูลจากผู้วิจัยเองเลย หรืออาจจะอ่าน Reviews หรือ Articles ก็ได้ที่คนอื่นเขียนก็ได้ ภาษาที่ใช้ในนี้อาจจะยากยิ่งขึ้นและมีภาษาทางเทคนิคมากขึ้น ดังนั้นจึงอาจจะต้อง Subscribe ฐานข้อมูลไว้เพื่ออ่านบ้าง

รวมทั้ง Article ของนักวิชาการหรือนักวิจัยในเฟซบุ๊ค ในบล็อกของนักวิจัยหรือนักวิชาการคนนั้น ๆ หรือในเว็บไซต์อื่น ๆ ก็จะเป็นภาษาอังกฤษเช่นกัน เดี๋ยวนี้การติดตาม Social Network ของนักวิชาการเองก็จะได้ข้อมูลใหม่ ๆ มาพอสมควรเหมือนกัน

ถ้าคุณอยากเป็น Developer คุณอาจจะต้องรู้ภาษาอังกฤษ

Developer ในที่นี้หมายถึง Programmer, Web Developer ภาษาอังกฤษค่อนข้างจำเป็นมากในสาขานี้ เนื่องจาก "ภาษา" ที่ใช้ในการเขียนตัวโปรแกรมหรือเว็บเองก็ใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมด อย่างเช่นภาษา HTML ที่ใช้ tag เป็นภาษาอังกฤษและตัวชื่อ tag ก็แสดงถึง function ของมันเอง ดังนั้นการที่เรารู้ความหมายของคำจะทำให้เราเข้าใจว่าตัวโค้ด ๆ นั้นมันทำอะไรได้และเราจำมันได้ง่ายขึ้นอีกด้วย


Figure 3: An example of HTML code.

จากภาพทางด้านบนเป็นภาษา HTML เบื้องต้นง่ายๆ ลองดูสิครับถ้าคุณไม่เข้าใจภาษาอังกฤษเลยการจำ tag จะยากขนาดไหน ในขณะที่ตัว tag เองก็สื่อความหมายของมัน เช่น title คือหัวเรื่อง body แปลว่าร่างกาย ตัวตน หรือก็คือส่วนที่จะแสดงผ่าน browser เป็นต้น

อีกทั้ง documentation ในภาษาไทยก็มีน้อยที่อัพเดทให้ทันยุคทันสมัยแล้ว โดยเฉพาะส่วนที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ ๆ กว่าจะมีหนังสือวางขายก็อาจจะเป็นปีทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งวงการนี้ค่อนข้างไปไวอีก ซ้ำร้าย binary หรือ framework ต่าง ๆ documentation ก็จะเป็นภาษาอังกฤษเสียส่วนใหญ่ ดังนั้นถ้าไม่รู้ภาษาอังกฤษเลยแม้แต่นิดก็คงจะยากพอสมควรในการที่จะทำความเข้าใจ

Figure 4: Stackoverflow's homepage

Stackoverflow เป็นอีกเหตุผลที่ทำให้ Developer, Programmer ควรที่จะศึกษาภาษาอังกฤษบ้าง ถ้าหากเมื่อเราโค้ดแล้วเกิดปัญหา แล้วเราไม่สามารถแก้ไขปัญหานั้น ๆ ด้วยตัวเองได้ เว็บนี้เป็น community ที่มีเหล่า Programmer มารวมตัวกันมากมาย และคอยให้ความช่วยเหลือคุณ หรือคุณอาจจะช่วยคนอื่นก็ได้เช่นกัน

ข้อสุดท้าย....

ก็ไปไว้ไปเที่ยวต่างประเทศไง! ไปเที่ยวไงหล่ะ

จริง ๆ ยังมีอีกมาก อาทิเช่น เล่นเกมภาษาอังกฤษ ไม่ต้องรอแปลไทย (ซึ่งเป็นหวังลม ๆ แล้ง ๆ) อ่าน Reddit (?) ไว้ Trash talk เวลาเล่นเกมออนไลน์, etc.

รู้ภาษาอังกฤษไว้บ้าง ใช่ว่าแบกหาม นะครับ :D

หลายเหตุผลที่ทำไมเราควรจะศึกษาภาษาอังกฤษ
Share this